Believe

อักษร ” ฝู (ฮก) ” กลับหัว

ตัว 福 ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ฮก”
ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ฝู”

คำ 福 ออกเสียงว่า“ ฝู” หรือ “ฮก” หมายถึงโชคหรือโชคลาภ วาสนา ความสมบูรณ์พูนสุข การที่กลับหัวลง ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ต้าว(倒) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า ต้าว (到)ที่แปลว่า ถึง เอื้อมถึง มาถึง นั่นเอง เวลาคนจีนมองไปที่ตัวอักษรจีนตัว 福 ที่ติดกลับหัวลง ก็จะพูดว่า ” 福倒了!” (ฝูต้าวเลอ)
ก็พ้องเสียงกับคำว่า 福到了 ที่หมายถึง “โชคหรือโชคลาภมาถึงแล้ว” ดังนั้นการเปลี่ยนตัวอักษร 福 ฝู กลับหัว คือการเล่นคำที่แสดงถึงโชคลาภที่มาถึง นั่นเอง

ทุกปีเมื่อย่างเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน เรามักจะเห็นบ้านของคนจีนมากจะติดกระดาษสีแดงที่เขียนด้วยอักษรจีนอันเป็นคำมงคล เป็นการอวยพรให้โชคลาภ นอกจากตรงหน้าประตูที่ติดทั้งด้านบนขอบประตูและสองข้างซ้ายขวาของประตูหรือที่เราเรียกกันว่า “ตุ่ยเลี้ยง” หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเขียนคำอวยพรลงในกระดาษสีแดง และคำหนึ่งที่นิยมติดไว้ที่ประตูบ้านคือคำว่า ฝู หรือ ฮก 福 (ความสุขหรือโชคลาภ) แต่บางท่านอาจจะไม่คุ้นตานักกับการติดคำว่า ฝู กลับหัว ที่จะติดตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ประตู้บ้านยันในบ้าน โดยชาวจีนเชื่อว่าเป็นมงคลจะได้โชคดีในปีใหม่ การติดอักษรนี้จะติดไว้ทั้งปี จนปีใหม่ก็ค่อยเปลี่ยนใหม่

คำ 福 ออกเสียงว่า“ ฝู” หรือ “ฮก” หมายถึงโชคหรือโชคลาภ วาสนา ความสมบูรณ์พูนสุข การที่กลับหัวลง ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ต้าว(倒) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า ต้าว (到)ที่แปลว่า ถึง เอื้อมถึง มาถึง นั่นเอง เวลาคนจีนมองไปที่ตัวอักษรจีนตัว 福 ที่ติดกลับหัวลง ก็จะพูดว่า ” 福倒了!” (ฝูต้าวเลอ)
ก็พ้องเสียงกับคำว่า 福到了 ที่หมายถึง “โชคหรือโชคลาภมาถึงแล้ว” ดังนั้นการเปลี่ยนตัวอักษร 福 ฝู กลับหัว คือการเล่นคำที่แสดงถึงโชคลาภที่มาถึง นั่นเอง

ทุกปีเมื่อย่างเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน เรามักจะเห็นบ้านของคนจีนมากจะติดกระดาษสีแดงที่เขียนด้วยอักษรจีนอันเป็นคำมงคล เป็นการอวยพรให้โชคลาภ นอกจากตรงหน้าประตูที่ติดทั้งด้านบนขอบประตูและสองข้างซ้ายขวาของประตูหรือที่เราเรียกกันว่า “ตุ่ยเลี้ยง” หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเขียนคำอวยพรลงในกระดาษสีแดง และคำหนึ่งที่นิยมติดไว้ที่ประตูบ้านคือคำว่า ฝู หรือ ฮก 福 (ความสุขหรือโชคลาภ) แต่บางท่านอาจจะไม่คุ้นตานักกับการติดคำว่า ฝู กลับหัว ที่จะติดตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ประตู้บ้านยันในบ้าน โดยชาวจีนเชื่อว่าเป็นมงคลจะได้โชคดีในปีใหม่ การติดอักษรนี้จะติดไว้ทั้งปี จนปีใหม่ก็ค่อยเปลี่ยนใหม่

ตำนานที่มีการกล่าวถึงการติดคำว่า “ฟู” กลับหัว

ตำนานที่ 1
ย้อนไปในสมัยจูหยวนจางปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง เมื่อยึดนานจิงได้ทรงมีดำริจะฆ่าคนที่กระด้างกระเดื่องในเมืองให้สิ้น ลอบมีโองการให้คนที่จงรักภักดีติดตัวอักษรฝูไว้ที่ประตูบ้าน บ้านใดมีตัวอักษรนี้ติดอยู่ก็ให้ละเว้นชีวิต หม่าฮองเฮาที่มีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีส่งขันทีให้ลอบไปบอกผู้คนทั้งเมืองให้ติดตัวอักษรฝูหน้าประตูบ้าน มีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือ ติดฝูกลับหัว เช้าวันต่อมา ทุกครัวเรือนในนานจิงมีอักษรฝูติดอยู่ ทหารหาคนจะฆ่าไม่ได้ เหลือบ้านที่ติดฝูกลับหัวจึงนำตัวไปให้ฮ่องเต้ลงโทษ แต่หม่าฮองเฮารีบเข้าเฝ้ากราบทูลว่า “คนทั้งเมืองพร้อมใจถวายพระพรฝ่าบาท และฝูกลับหัวนี้ก็เป็นการตอกย้ำว่า “ฝูต้าวเลอ 福到了” ความสุขมาถึงแล้วนั่นเอง” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงจึงละเว้นชีวิตคนบ้านนั้นในที่สุด

ตำนานที่ 2
เกี่ยวโยงกับวังองค์ชายกงชิงหวังที่ปักกิ่งในสมัยราชวงศ์ชิง เมื่อพ่อบ้านของวัง ได้เขียนคำว่าฝูแล้วให้บ่าวไพร่นำไปประดับประตูวังและจุดต่างๆ บ่าวไพร่ที่ไม่รู้หนังสือผู้หนึ่ง ดันติดตัวหนังสือที่หน้าประตูวังกลับหัว ผู้คนมาพบเข้าก็เห็นขัน แต่พระชายาไม่ตลกด้วย พ่อบ้านเกรงว่าพระชายาจะลงโทษบ่าวไพร่ จึงใช้ปณิธานเพ็ดทูลว่า “ข้าน้อยสมควรตาย การที่บ่าวไพร่ติด ฝู กลับหัวนั้น เป็นความหมายมงคล
เพราะคำว่าต้าว 倒 ที่แปลว่ากลับหัวหรือคว่ำนั้น พ้องเสียงกับคำว่า ต้าว 到 ที่แปลว่า มาถึง- ฝูต้าว 福到 เมื่อคนมาอ่านพบแล้วพูดว่า 福倒了 จึงเท่ากับเขาพูดว่า 福到了 ความสุขโชคลาภมาถึง จึงเป็นมงคลมหามงคล” พระชายาได้ฟังก็คลายความโกรธกลายเป็นความยินดี มอบรางวัลให้พ่อบ้านและบ่าวไพร่ทั้งหมด

ไม่ว่าจะตำนานไหน ตัวอักษร ฟู ก็แสดงให้เห็นถึง
“ความร่ำรวย” “ความโชคดี” “ความเป็นมงคล”

Most Popular

To Top